แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้ทั่วไป แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้ทั่วไป แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

่ชุดที่แม่แม่ใส่ตอนวันปฐมนิเทศที่โรงเรียนที่ญี่ปุ่น

 นี่ก็ใกล้จะปิดเทอมใหญ่กันแล้ว อย่างชั้นอนุบาล 3 ก็จะจบไปขึ้นป. 1  ชั้นป.6 ก็จะจบไปขึ้นชั้นม. ต้น

เด็กเข้าอนุบาล 1  กับเด็ก ป.1 (เอาจากประสบการณ์ตัวเองนะ) ก็จะไปเรียนในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เพื่อนใหม่ ผู้ปกครองแม่แม่ก็ต้องไปหาซื้อเสื้อผ้ามาใส่ในตอนที่ลูกจะขึ้น อ. 1  ขึ้น ป.1  

แล้วตอนจบ อ.3 เราก็ไปเสื้อแค่สูทที่สีออกเทา ๆ มาใส่ตอนลูกจบชั้น อ. 3  

ตอน อ.1 กับ ป.1 เป็นการเข้าเรียน เราเลยเลือกสูทแบบสีครีม ๆ อ่อน ๆ 

ตอนนี้ทางร้านก็ขายชุดที่ว่านี้เยอะมาก เราเลยเก็บมาฝากเผื่อเป็นแนวเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะ





วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ลองสมัครพอร์ตหุ้นของธนาคารกสิกรไทย

 พอดีว่าเราเริ่มสนใจที่จะลงทุนในหุ้นดู แต่การที่จะเริ่มลงทุนได้ก็ต้องมีพอร์ตก่อน ซึ่งเราเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการลงทุนสักเท่าไหร่ ตอนแรกที่ได้ยินคำว่า "พอร์ต" คืออะไร ทำยังไง เลยลองสอบถามคนที่รู้จักดู เขาก็บอกว่าจะต้องเปิดบัญชีกับหลักทรัพย์ก่อน แล้วทำยังไงอ่ะ เลยลองหาข้อมูลทางเน็ตดู ข้อมูลทางเน็ต มีเยอะมาก พูดถึงวิธีการ เยอะแยะมากมาย สรุปเราก็เลยมาสมัครบัญชีกับหลักทรัพย์กสิกรไทยดู 

วิธีการสมัครก็เข้าไปที่

หลักทรัพย์กสิกรไทย | KS Account Opening (kasikornsecurities.com)

กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วก็จะมีขั้นตอนยืนยันตัวตน (NDID)  ดีที่เราเคยไปทำการยืนยันตัวตนมาก่อนตอนอยู่ที่ไทยกับธนาคารแล้ว  ไม่งั้นเปิดไม่ได้แน่ ๆ 

สิ่งที่สำคัญในการจะเปิดบัญชีออนไลน์ในขณะที่เราอยู่ต่างประเทศ ก็คือการมีเบอร์มือถือของไทยเพื่อสามารถรับ SMS หรือ OTP เพื่อเข้าระบบ กับการที่มีธนาคารที่เราเคยไปยืนยันตัวตนแล้ว ก็สามารถสมัครเปิดบัญชีออนไลน์ได้ 

ของกสิกรไทยจะมีการโทรศัพท์มาเช็คตัวตนกับเราก่อน แล้วถึงจะอนุมัติการเปิดบัญชี ตอนที่อนุมัติก็จะส่งเลขที่บัญชีมาให้ที่อีเมล์ แล้วก็จะส่ง Password ตามมาให้อีกอีเมล์นึง หลังจากนั้นก็เข้าไปทำการเปลี่ยนแปลง Password เองได้ที่เว็บไซด์หลักทรัพย์กสิกรไทย

เราเข้าไปกรอกข้อมูลของกสิกร วันที่ 5 กุมภา สถานะตอนนั้นคือ รอการอนุมัติ

วันที่ 6 กุมภา มีเจ้าหน้าที่โทรเข้ามาที่เบอร์มือถือของไทย สอบถามข้อมูลส่วนตัว เสร็จ สถานะก็เป็นอนุมัติ

วันที่ 7 ได้รับอีเมล์แจ้งเลขที่บัญชี กับ Password 

ก็สามารถเทรดหุ้นได้เลย แต่ของกสิกรจะมีค่าธรรมเนียมต่อวัน 53.50 บาท 







วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทำบัตรประชาชนในญี่ปุ่น

ข่าวจากสถานทูตเรื่องการทำบัตรประชาชนในญี่ปุ่น
รายละเอียด





หรือสามารถเข้าดูรายละเอียดที่ลิ้งค์ด้านล่างนะคะ


http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=article&id=2091:2014-07-04-01-40-12&catid=1:2009-10-09-01-05-43&Itemid=7

เย้ ดีจังเลย เพราะถ้าเป็นเมื่อก่อนได้ยินว่าต้องกลับไปต่อที่ไทย ตอนนี้ถ้าสามารถต่อที่ญี่ปุ่นได้ก็สะดวกขึ้นเยอะเลย ^^


วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ธรรมเนียมการให้ของตอบแทน (お祝い返し)

หลังจากที่มาอยู่ที่ญี่ปุ่นสิ่งนึงที่เรารู้สึกได้ก็คือ เวลาเราให้ของอะไรใครเขาก็จะให้ตอบแทนกลับมา(お祝い返し)
อย่างตอนที่เพื่อนร่วมงานคุณซูประสบอุบัติเหตุตอนที่ทำงาน คุณซูก็ไปเยี่ยมแล้วก็มีให้เงินช่วยเหลือ แต่จำไม่ได้แล้วว่ากี่เยน สักพักก็มีพัสดุมาที่บ้านเป็นของตอบแทนที่คุณซูไปเยี่ยมหล่ะ
ของที่เขาส่งมาตอบแทนกรณีนี้จะเรียกว่า 「快気祝い=かいきいわい」 
หน้าตาแบบนี้ เป็นพวกน้ำยาซักผ้า ปรับผ้านุ่ม หรืออาจจะให้เป็นของอย่างอื่นก็ได้นะแล้วแต่



แล้วก็มีอีกเพื่อนคุณซูแต่งงานแต่น่าจะไม่ได้จัดงานแต่งมั้งนะ  พอคุณซูรู้ข่าวก็ใส่ซองให้  30,000 เยน  เราร้องอู้หูเลย แต่คุณซูบอกว่าเขาก็ให้กันประมาณที่เท่านี้หรืออาจจะมากกว่า
หลังจากนั้นเพื่อนเขาก็ให้ของตอบแทนมา เป็นแคตตาล็อกพวกเครื่องใช้ในครัว เครื่องไฟฟ้าชิ้นเล็ก ๆ
มาให้  ให้เราเลือกเองว่าถูกใจอันไหน แล้วก็ส่งไปรษณีย์ระบุของที่เลือก เพื่อให้บริษัทนั้นส่งของมาให้ หรืออาจจะให้เป็นของอย่างอื่นก็ได้นะแล้วแต่
ของตอบแทนในกรณีนี้จะเรียกว่า 「結婚之内祝=けっこんのうちいわい」 ซึ่งรู้สึกว่าจะมีธรรมเนียมด้วยอ่ะคือของตอบแทนที่จะคืนมาให้สำหรับแต่งงานนี้จำนวนเงินจะประมาณครึ่งหนึ่งของเงินที่ให้ไป แล้วก็ควรจะให้ภายใน 1 เดือนหลังจากที่ได้รับซองหรือหลังจากที่จัดงานแต่งไปแล้ว
 (ปล. นอกจากของตอบแทนงานแต่งแล้ว ของตอบแทนในกรณีอื่น ๆ ก็คงจะมีธรรมเนียมการคืนด้วยเหมือนกัน แต่เราไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไหร่ mT Tm)





หมายเหตุ : บริเวณที่ลบไปเป็นนามสกุลของคนที่ส่งมา

แล้วก็จะมีเพื่อนของคุณซูที่เวลาคุณซูไปเที่ยวไหนกลับมาแล้วก็ซื้อของฝากมาฝาก เขาจะต้องมีของคืนมาให้ด้วยตลอด อย่างตอนที่คุณซูไปฮอกไกโดคุณซูให้ขนม Shiroikoibito ไป  เขาก็จะให้ขนมเค้กกลับมาเลยเป็นลาภปากสำหรับเราเลย อิอิ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรื่องราวของญี่ปุ่นที่เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมหลังจากมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เกือบปีครึ่ง

เรื่องราวของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม หรือของใช้ หรืออื่น ๆ ที่เรารู้สึกว่าได้เรียนรู้เป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ หลังจากที่เราย้ายมาอยู่ที่นี่ในฐานะแม่บ้านได้เกือบปีครึ่ง (เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมาเรียนแลกเปลี่ยน กับมาฝึกงานอย่างละปี) ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น เลยอยากเขียนเก็บไว้เผื่ออยากย้อนเวลาตอนที่เราอยู่ ณ ตอนนี้ตัวเองคิดอะไรยังไง ^0^

(ไม่ได้เรียงลำดับนะ นึกเรื่องอะไรได้ก็เขียนเลย อิอิ)

ข้อที่ 1. ของใช้หน้าตาคล้าย ๆ กัน แต่แยกประเภทการใช้งาน อย่างเช่น ฟองน้ำล้างจาน ถ้าเราไปซื้อก็คงไม่ได้ดูถึงว่าแบบนี้สำหรับล้างจาน แบบนี้สำหรับงานอย่างอื่น

ข้อที่ 2. ถ้าเราแปะที่หน้าประตูบ้านว่า “ไม่ขอรับใบปลิว โฆษณา” คนแจกก็ไม่มาหยอดที่ตู้ไปรษณีย์บ้านเราจริงๆ  เว้นแต่คนที่เขาไม่ยอมรับรู้ 555 แจกอย่างเดียว

ข้อที่ 3. เวลาตั้งโต๊ะอาหาร สำหรับครอบครัวของเราจะไม่ค่อยอะไรมากมาย แต่เท่าที่เราสังเกตครอบครัวอื่น ๆ เขาจะแยกถ้วยชาม แก้วน้ำ รวมถึงตะเกียบของใครเป็นของใครไว้เลย สำหรับแขกก็จะมีแยกเอาไว้

ข้อที่ 4. ที่ญี่ปุ่น อิงคังเปรียบเสมือนเป็นลายเซ็นของเรา เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี  อิงคังส่วนตัวที่เอาไปลงทะเบียนอิงคังที่สำนักงานเขตแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับธนาคารแล้วก็การติดต่อราชการ ถ้าเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่จะต้องใช้อิงคิง ก็สามารถใช้ของที่ไม่ได้ไปลงทะเบียนก็ได้
ข้อที่ 5. KFC ที่ญี่ปุ่น (โตเกียว) เขาเรียก kentaki (เคนตักกี่) หล่ะ

ข้อที่ 6. การแยกและทิ้งขยะ เราต้องแยกขยะตามที่ทางสำนักเขตเขาได้ระบุไว้ และทิ้งในวันที่กำหนด ถ้าเราไม่ได้ทำตามนั้น อย่างกล่องลูกฟูก ถ้าไม่ได้พับให้เรียบร้อยก่อนทิ้ง ทิ้งทั้งสภาพที่ยังเป็นกล่อง พนักงานเก็บขยะก็จะไม่เก็บ ถึงจะเป็นวันขยะกระดาษ ก็ไม่เก็บ ถ้าขยะชิ้นนั้นเป็นของเรา ถึงคนอื่นไม่รู้ แต่เราก็รู้อยู่แก่ใจ เพราะต้องเจอมันทุกวัน

ข้อที่ 7. เวลาเราเจอเพื่อนบ้าน เจอเพื่อน เจอคนรู้จัก หรือเวลาไปบ้านคนอี่น ควรจะทักทายด้วย “โอะฮะโยโกะไซมัส หรือคอนนิจะวะ หรือ คอมบังวะ” ด้วยน้ำเสียงที่แข็งขัน ซึ่งคำทักทายถ้าแปลเป็นไทยก็คือ “สวัสดีครับ / ค่ะ” นั่นเอง

ข้อที่ 8. การใช้บันไดเลื่อน ถ้าเป็นในแถบโตเกียว ปกติจะยืนด้านซ้าย ถ้าต้องการรีบ ก็ให้เดินทางด้านขวา  แต่ถ้าเป็นแถบโอซาก้า ปกติจะยืนด้านขวา ถ้าต้องการรีบ ก็ให้เดินทางด้านซ้าย

ข้อที่ 9. กฏการขับรถของญี่ปุ่น
  - ถ้าบีบแตรแล้วยกมือ หรือเปิดไฟกระพริบ หมายถึงการขอบคุณ
   -  ถ้าเปิดไฟสูง หมายถึง การให้รถเราที่ขอสัญญาณอะไรอยู่ทำได้ เช่นกำลังเปิดไฟขอเลี้ยว รถที่เปิดไฟสูงจะจอดให้รถเราได้เลี้ยว
   -  ถ้ารถสามารถเลี้ยวได้ แต่สัญญาณไฟสำหรับคนหรือจักรยานข้ามยังเป็นสีเขียว ต้องให้คนหรือจักรยานข้ามไปก่อน ถึงจะเลี้ยวได้
   -  ส่วนใหญ่แล้วขับกันอยู่ที่ความเร็ว 40 -60

ข้อที่ 10. ตอนกลางคืน ถึงเข้านอนแล้ว บ้านคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ชั้นล่างจะเปิดไฟหรี่สีเหลือง ๆ ทิ้งไว้ ในห้องนอนก็เปิดไฟหรี่สีเหลือง ๆ ทิ้งไว้ ตอนแรกบ้านเราก็เป็นแบบนั้น แต่ด้วยความที่ว่าอยากประหยัดไฟ (นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ยังดี) เลยบอกคุณซูว่าปิดเถอะ

ข้อที่ 11. ถ้าเราได้นั่งไม่ว่าจะอยู่บนรถเมล์ หรือรถไฟ ถ้ามีผู้หญิงท้องแล้วท้องอาจจะยังไม่โต เลยดูไม่ค่อยออกว่าเป็นคนท้อง แต่ถ้าเขาแขวนป้ายว่า “เป็นคนท้อง” ต้องรีบลุกขึ้นให้เขานั่ง และที่นั่งบริเวณที่เป็นสำหรับคนท้อง คนชรา ต้องปิดสัญญาณมือถือ ถ้าไม่ใช่บริเวณนี้ ให้ใช้โหมดสั่นแทนได้

ข้อที่ 12. หลาย ๆ ครอบครัว เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ จะใช้น้ำที่ใช้จากการลงอ่างอาบน้ำ (โอะฟุโระ) ซักผ้าต่อ มีเครื่องถ่ายน้ำมาที่เครื่องซักผ้าขายด้วย แต่บ้านเราเราใช้น้ำโอะฟุโระของแต่ละครั้งประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นถ้าไม่ได้ใส่ผงสำหรับแช่ ก็จะเอาไปรดน้ำต้นไม้ต่อ แล้วค่อยขัดอ่าง

ข้อที่ 13. เวลาลองชุดที่ห้องลอง รองเท้าเราต้องถอดแล้ววางด้านนอกห้อง บางร้านให้เอารองเท้าเข้าไปได้แต่ก็ให้วางด้านล่าง
และส่วนใหญ่เวลาเราตัดสินใจเอาเสื้อผ้าชิ้นไหนแล้ว คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ถามว่ามีชิ้นใหม่หรือเปล่า จะเอาจากราวที่มีอยู่ ถึงจะมีแค่ตัวเดียว เขาก็ซื้อกัน นอกจากทางร้านจะเสนอเองว่าเดี๋ยวหยิบชิ้นใหม่มาให้

ข้อที่ 14. ไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวยาวมาก ๆ พนักงานจะเปิดเค้าน์เตอร์ใหม่ให้ พนักงานแคชเชียร์จะเรียกคิวแรกที่กำลังรอ ให้ไปจ่ายที่เค้าน์เตอร์ใหม่ และของในตระกร้า พอจ่ายเงินเสร็จ เราต้องใส่ลงถุงเอง (จะมีที่ให้ใส่)

ข้อที่ 15. การลงรถเมล์ ต้องกดกริ่ง และต้องให้รถจอดก่อนถึงค่อยลุก แล้วค่อยไปจ่ายเงิน (ในกรณีที่ไม่มีบัตรเติมเงินประเภทต่าง ๆ อย่างบัตร SUICA เป็นต้น)  ถ้าไม่มีเหรียญ ที่เครื่องจ่ายเงินนั้นก็จะมีเครื่องแลกเงิน ให้เราให้แบ็งค์ใส่เข้าไป เหรียญก็จะออกมา แล้วค่อยเอาไปหยอดที่ช่องค่าโดยสาร

ข้อที่ 16. ที่ร้านอาหารหรือร้านกาแฟ สำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นบุหรี่ก็ต้องทน เพราะถึงจะมีแบ่งที่ว่าเป็นที่สำหรับสูบบุหรี่ได้ ที่บริเวณนี้ห้ามสูบ แต่ก็เป็นห้องเดียวกัน กลิ่นก็วนเวียนอยู่ในนั่นแหล่ะ

ข้อที่ 17. โดยส่วนตัวเราไม่ค่อยชอบวางกระเป๋า หรือถุงหรือสัมภาระกับพื้นบริเวณที่เรายืน อย่างตอนรอรถ หรือบนรถไฟ แต่ที่นี่เขาวางกันเป็นปกติ ไม่กลัวว่าก้นกระเป๋า ก้นถุงจะเลอะเทอะอะไรเลย

ข้อที่ 18. การพาหมาไปเดินเลิน ก็เป็นกิจวัตรประจำวันของแม่บ้าน หรือคนเลี้ยง แต่พวกเขาจะต้องถือถุงพลาสติกไปด้วย เพราะถ้าเจ้าดุ๊กดิ๊กอึ เจ้าของต้องเก็บอึด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องมาคอยระวังว่าจะเหยียบขี้หมาหรือเปล่า (แต่ก็มีบางคนไม่เก็บเหมือนกัน)

ข้อที่ 19. ไปรักษาโรคที่โรงพยาบาล เขามีเวลาเปิดปิดเค้าท์เตอร์ลงทะเบียนผู้ป่วยด้วย ต้องไปให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้น ต้องรอรอบถัดไป หรือวันถัดไป และการจ่ายยา เราจะไม่ได้รับยาโดยตรงจากทางโรงพยาบาล ต้องเอาใบจ่ายยาไปซื้อที่ร้านที่รับใบจ่ายยา (ไม่รู้เป็นเหมือนกันทุกที่หรือเปล่า)

ข้อที่ 20. การใส่หน้ากากอนามัย ถือเป็นเรื่องปกติของที่นี่ ถึงเราไม่ได้เป็นไข้หวัด ปกตินี่แหล่ะ จะใส่เพื่อเป็นแฟชั่นตามเขาก็ได้

ข้อที่ 21. จักรยานถือเป็นพาหนะที่เจอทั่วไปบนฟุตบาท เพราะฉะนั้นเวลาเราเดินก็ต้องระวังจักรยานชน

ข้อที่ 22. ทำมิโซะซุป ตัวเนื้อมิโซะซุป เราคนด้วยทัพพีธรรมดา โดนคุณซูดุเลยว่า "นึกแล้วว่าทำไมยังเป็นก้อน ๆ" เพราะฉะนั้นการทำมิโซะซุป ต้องเอาเนื้อมิโซะใส่บนทัพพีที่มีรู แล้วก็ค่อยๆ ละลาย ๆ จนหมด จะได้ไม่มีก้อนหลงเหลือ
ข้อที่ 23. ทิชชูในห้องน้ำ เราสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้เลย ส่วนถังขยะที่มีไว้ไห้ จะสำหรับทิ้งพวกผ้าอนามัย ฯ แต่ถ้าใครใช้ทิชชูเปียกก็ต้องเลือกแบบที่เขียนว่าสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ตันได้
ข้อที่ 24.  แม่บ้านแถวบ้านเราเขาซักผ้ากันทุกวันเลย เลยทำให้เราต้องซักเกือบทุกวันเหมือนกัน (ติดนิสัยมา) เพราะตอนอยู่ไทยตอนที่ทำงานต่างจังหวัด จำได้ว่าสักประมาณอาทิตย์ละครั้งได้
ข้อที่ 25. เนื้อหมูหรือเนื้ออื่นๆที่ขายตามซุปเปอร์เป็นแพ็ค.ๆไม่จำเป็นต้องล้างก่อนนำมาทำอาหารแหละ.ช่วงแรกชินกับตอนอยู่ไทย.ล้างก่อนตลอด.ตอนนี้ไม่หละ
ข้อที่ 26. ถ้าเราพาเด็ก ๆ ไปเที่ยว คุณซูจะบอกเสมอว่าถ้าจะให้เด็กนั่งที่นั่ง ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งบนรถไฟ ที่นั่งตามร้านอาหาร ให้ถอดรองเท้าเด็กออกก่อน เผื่อเด็กปีน หรือยืนบนที่นั่ง ก็จะทำให้เบาะเปื้อน
ข้อที่ 27. ตอนนี้เราท้องอยู่ เวลาไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวไม่ยาว แคชเชียร์เขาจะช่วยยกตระกร้าที่เราจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปวางที่โต๊ะสำหรับใส่ลงถุงให้ ใจดีจัง
ข้อที่ 28. เราเคยเห็นแม่ลูกคู่นึง เด็กก็คงไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรหรอกนะ พอเห็นลิฟต์ลงมา เด็กก็จะเข้าไปก่อน แม่เขาสอนเลยว่าให้รอ (เพราะเขามาหลังเรา) สิ่งนี้คงเป็นสิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าคิวต่อแถวอย่างเป็นระเบียบ แต่เราก็เคยเห็นบางรายการที่เขาฉาย เราก็เห็นคนญี่ปุ่นแย่งซื้อของลดราคากันเหมือนกันนะ อย่างว่าของถูกใคร ๆ ก็อยากซื้ออ่ะเนอะ
ข้อที่ 29. ถึงจะเข้าหน้าร้อน คุณซูก็ยังคงจะอาบด้วยน้ำอุ่น แช่น้ำอุ่น เพราะเขาบอกว่าช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แต่เราไม่ไหวอ่ะ อาบน้ำเย็นเลย ไม่ลงแช่น้ำอุ่นด้วย ร้อนเกิน 
ข้อที่ 30. เราสามารถขอใช้ห้องน้ำตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปได้ สะดวกดีเหมือนกันเวลาเดินทางไปไหนไกล ๆ 
ข้อที่ 31. คุณซูเอารถเข้าเช็คที่ศูนย์อย่างเช็คระยะ หรือเปลี่ยนแบต หรืออื่น ๆ ทางศูนย์เขาไม่ได้ล้างรถให้เราแหละ จะต่างกับตอนที่เราเอารถเข้าศูนย์ฮอนด้าที่ไทย (ไม่รู้ศูนย์บริษัทอื่นจะเหมือนกันมั้ย) ทุกครั้งรถจะใหม่ สะอาดออกมาเลย 
ข้อที่ 32. ปั้มน้ำมันที่นี่จะมีบริการให้เราเติมน้ำมันเอง คุณซูมักจะเลือกแบบบริการตัวเอง เพราะคุณซูบอกว่าจะถูกกว่าที่มีพนักงานมาบริการให้นิดหน่อย เราก็ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันทุกปั้มหรือเปล่า สำหรับปั้มที่เราใช้อยู่ก็จะมีบริการล้างรถแบบหยอดเหรียญ พอล้างเสร็จ ก็จะมีส่วนที่ให้เรามาเช็คทำความสะอาดอีกที จะมีผ้าขนหนูเล็ก ๆ เตรียมไว้ให้  มีเครื่องดูดฝุ่นแบบหยอดเหรียญ  มีเครื่องทำความสะอาดพรมในรถด้วย 
ข้อที่ 33. ถ้าเราทานข้าวนอกบ้าน เวลาเข้าไปในร้านแล้ว ถ้าพนักงานยังไม่มาเชิญให้เราไปนั่งที่โต๊ะ เราก็ต้องยืนรอบริเวณประตูจนกว่าพนักงานจะมา ถ้าพนักงานยุ่ง ๆ อยู่ก็อาจจะรอนานหน่อย  จริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าการไปนั่งที่โต๊ะว่าง ๆ เองจะได้หรือเปล่า เพราะเราเห็นก็มีแต่คนยืนรออ่ะ
ข้อที่ 34. ป้ายที่แขวนบนท้องถนน แบบว่าถ้าจะไปที่นี่ตรงไป หรือเลี้ยวซ้ายขวา ที่ญี่ปุ่นใช้สีน้ำเงินหล่ะ (ที่ไทยใช้สีเขียว) ส่วนป้ายที่เป็นสีเขียวที่ญี่ปุ่นจะหมายถึงไปทางด่วน (ซึ่งที่ไทยทางด่วนจะเป็นป้ายสีน้ำเงินเนอะ) สลับกัน
ข้อที่ 35. ตามโฮมเซ็นเตอร์ จะมีขายพวกดอกไม้ ต้นไม้ กระถางด้วย สะดวกดีเหมือนกัน 
ตอนนี้มีประมาณเท่านี้ ถ้าเจออะไรใหม่ ๆ จะอัพเดทอีกทีนะคะ ^^

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเช่ารถขับที่ญี่ปุ่น

พอดีว่าเรามีแพลนจะใช้รถคันที่ใหญ่ขึ้น ก็เลยเช่ารถกับทางโตโยต้า
Toyota Rent-a-Car  Tel. 03-3374-0100

วันที่เราต้องการใช้วันที่ 5 พ.ย. 56
เราก็โทรไปจองรถวันที่ 4 พ.ย. 56 (จริง ๆ ควรจะจองล่วงหน้าดีกว่า จะได้ไม่ฉุกละหุกเกินไป)
ตอนที่เราโทรไป เราก็บอกชื่อ นามสกุล รุ่นที่ต้องการเช่า ไม่สูบบุหรี่ แล้วก็เบาะสำหรับเด็ก 1 ขวบ
เพราะมีเด็กด้วย แล้วก็เวลาที่ต้องการเช่า กี่ชั่วโมง สำหรับเราเช่า 12 ชั่วโมง เป็นรุ่น Toyota Noah 8 ที่นั่ง
ค่าเช่าทั้งหมด 15,540 เยน
แล้วพนักงานก็บอกว่าวันที่มารับรถให้เอาใบขับขี่ แล้วก็บัตรเครดิตมา (บัตรเครดิตจะต้องตรงกับชื่อคนที่จอง)

วันที่ไปรับรถ พนักงานก็จะขอใบขับขี่เรากับบัตรเครดิตเราไปซีร็อก แต่ว่าคุณซูจะเป็นคนขับ พนักงานก็เลยขอใบขับขี่ของคุณซูไปซีร็อกด้วย

จากนั้นก็เซ็นเอกสารสัญญาเช่ารถ  แล้วก็เซ็นชื่อในสลิปบัตรเครดิต เขาจะรูดไปเลยเต็มจำนวน แต่ไม่มีค่าค้ำประกันนะคะ

ก่อนขับรถออก ก็จะมีการตรวจสภาพรถก่อนว่ามีรอยอะไรบ้าง แล้วก็น้ำมันจะเต็มถังมาให้

ตอนคืนก็จะต้องคืนเต็มถัง พร้อมกับยื่นใบเสร็จที่เติมน้ำมันให้ดูด้วยเพื่อเป็นการยืนยัน แล้วเค้าก็จะคืนกลับมาให้


หน้าตารถแบบนี้ค่ะ ^^


-
-

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เก็บเสื้อผ้าเข้าตู้ตามแบบละครของญี่ปุ่น (衣装の収納)

ตั้งแต่ต้นเดือนต.ค. อากาศก็เริ่มเย็นลงหล่ะ ก็จะต้องเอาเสื้อผ้า ผ้าห่มที่เก็บไว้ตอนที่เข้าหน้าร้อนมาใช้
แต่ก่อนที่จะใช้ ก็คงต้องเอาไปตามแดด ตากลมก่อน เพราะเก็บไว้นาน ก็จะมีกลิ่นของผ้าที่ไม่ได้ใช้นานอยู่ อยากจะซักใหม่เหมือนกัน แต่ทั้งหมดคงไม่ไหว

10月上旬から涼しくなって夏から収納していた衣装や毛布などをしばらく干していました。長く収納していたのでなんか匂いがしますね。洗濯したいのですが全部すると無理です。

พอดีกับเมื่อวันก่อนดูละครเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บของ เลยเอาวิธีการของละครมาใช้ดู
ในละครมีตอนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการจัดตู้เสื้อผ้า วิธีการของเขาก็ดีเหมือนกัน เก็บผ้าได้เยอะขึ้น
คุณซูก็บอกว่าหยิบสะดวกขึ้นด้วย

先日片づけについてドラマをみて、ドラマの内容の中に衣装の収納の話もあって、そのやり方をやってみました。私の昔のやり方よりたくさん収納できて主人も出しやすいと言っていました。

แบบเก่าที่เราเคยพับ

これは私の昔のたたみ方です。

 
 
ส่วนรูปข้างล่างนี้จะดูมาจากละคร รูปบนจะเป็นเสื้อแขนสั้นของคุณซู และรูปล่างจะเป็นเสื้อแขนยาว
 
ドラマを見てやってみました。上の写真は主人の半袖Tシャツ、下の写真は主人の長袖Tシャツです。
 
 
 
 
ส่วนรูปนี้ของเรา แขนสั้นเก็บเข้าลิ้นชักพลาสติก (รูปบน) หล่ะ ส่วนที่จะใส่ช่วงนี้ก็เอามาไว้ที่ลิ้นชัก (รูปล่าง)
 
この写真は私のです。夏用の服はは衣装ケースに入れました(上)。今着ているのは引出しに入れ替える(下)
 
 
ส่วนวิธีพับนะคะ
 
たたみ方です。
 
 
 
แล้วเราก็เลยลองซื้อตัวนี้มาใช้ให้มีกลิ่นหอม  หน้าร้อนปีหน้าจะได้ไม่มีกลิ่นผ้าแบบนั้นแล้วมั้งนะ
แล้วอ่าน ๆ ดูด้านหลังกล่อง เขาบอกไว้ว่าจะมีขึ้น "หมดแล้ว" ให้รู้ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนด้วยอ่ะ ดีจัง
 
来年の夏になったら夏用の服を取りだすときにそのような匂いがしないようにこれを買ってきました。箱の後ろを読んだら使い終わったら「おわり」という文字が出されると書いてあります。それはいいですね。。
 
ราคาอยู่ที่ 698 เยน
値段は698円です。
 
 
 
 
 
 
ถ้าใครมีวิธีนอกเหนือจากนี้ แนะนำด้วยนะคะ ^^
 
他の収納があれば教えてくださいね。^^
 
 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องอัพเดทบุ๊คธนาคาร และทำบุ๊คเล่มใหม่ให้อัตโนมัติ (通帳記帳・繰越機)

บุ๊คธนาคารหมดเล่มแล้ว ก็เลยจะเอาไปต่อที่ธนาคาร คุณซูก็บอกว่าเครื่องหน้าตาแบบนี้ก็ต่อได้...
จริงอ่ะ เพราะที่เมืองไทยถ้าหมดเล่มแล้วต้องติดต่อที่เค้าท์เตอร์อย่างเดียวเพื่อให้ออกเล่มใหม่
วิธีการก็คือสอดเล่มเดิมเข้าไป แล้วเครื่องก็คงทำเล่มใหม่มาให้ พอดีว่าบุ๊คของเราเป็นแบบเก่า เครื่องก็เลยไม่ทำให้ แต่เอาไปติดต่อเค้าท์เตอร์ก็รอแป๊ปนึง แล้วก็ได้เล่มมา ไม่ต้องเซ็นท้ายบุ๊คเหมือนที่เมืองไทย  ครั้งต่อไปคงทำเล่มใหม่ที่เครื่องได้แล้ว ^^


銀行の通帳は新通帳へ繰越をしなければならなくて銀行に行ったら主人はこのような機械も作れるよと言っていました。本当ですか。。。タイでは新通帳を作るために銀行のカウンターでやるしかないです。
この機械で新しいのを作り方は古い通帳を入れるだけでそのあとは機械がやってくれると思います。私の通帳は昔のタイプだったので機械で作れなかったです。それで、銀行のカウンターで連絡しました。しばらく待つとできました。タイのやり方みたいに通帳の後ろにサインする必要がありません。今度は機械で作れるでしょう。^^

ขอบคุณรูปจาก Google
Googleから写真のです。ありがとうございます。


จากนั้นเรา 2 คนก็ไปต่อที่ร้านกาแฟนี้ CAFFE VELOCE  รสชาติอร่อยดี ไม่แพงด้วย

กาแฟลาเต้เย็น 230 เยน
โกโก้เย็น 280 เยน
ชีสเค้ก 280 เยน
เจลลี่กาแฟ 290 เยน

それから私たちはカフェベローチェに行きました。美味しかったです。値段も高くないし。

アイスカフェラテ 230円
アイスココア  280円
ベイクドチーズタルト 280円
コーヒーゼリー  290円



วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

ตั๋วรถไฟธรรมดาก็สามารถซื้อด้วยบัตรเครดิตได้ (自動販売機で普通の切符もクレジットカードで購入できる)

เมื่อวันก่อนมีคำถามเรื่องการซื้อตั๋วรถไฟด้วยบัตรเครดิต
เราก็ไม่เคยใช้บัตรซื้อมาก่อน เลยลองถามคุณซูดูว่าซื้อได้มั้ย
คุณซูบอกว่าแล้วแต่ที่ แล้วคุณซูก็เลยพาเราไปลองใช้บัตรเครดิตซื้อดู
เครื่องทั่ว ๆ ไปที่ใช้ซื้อตั๋วจะไม่สามารถใช้บัตรได้ ต้องเครื่องหน้าตาลักษณะแบบนี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่ใช้ซื้อตั๋วรถไฟชินคันเซนนั่นเอง  ที่เครื่องขายตั๋วจะเขียนว่า 指定席 
(รูปจาก Google)

先日クレジットカードで買う切符について質問があって主人に聞いてみたら、あるところは買えるよと答えてくれました。
それで、主人は私をクレジットカードで買いに連れて行きました。
普通の機械だとクレジットカードで買えないらしいです。
このような機械なら買えるみたいです。つまり新幹線を買うのです。
機械では指定席と書いてあります。
(Googleからの写真)



ที่หน้าจอจะเป็นลักษณะแบบนี้
(รูปจาก Google)

画面はこれで出てきます。
(Googleからの写真)





วิธีการซื้อ เราซื้อตั๋วรถไฟธรรมดานะ
มีปุ่มให้เลือกเป็นภาษาอังกฤษด้วย แต่พอลองกดเข้าไปแล้ว ต่างกับภาษาญี่ปุ่นอ่ะ ก็เลยใช้หน้าจอภาษาญี่ปุ่นดีกว่า (เราไม่ค่อยถนัดภาษาอังกฤษเท่าไหร่ แหะ ๆ)

買う方法についてですが、私は普通の切符を買ってみました。
英語の画面に切り替えボタンがありますが、押してみたら日本語の画面とは違うので日本語のままやってみました。(実は私は英語が苦手ですので)
  

วิธีซื้อนะ (บางขั้นตอนอาจจะไม่ได้เรียงนะคะ เพราะเริ่มลืม ๆ ไปหล่ะ)
買う方法です。(ある手段は忘れてしまいましたので、並べていないのがあると思います。)

1. จากหน้าจอนี้ให้เลือกปุ่มทางขวามือล่างสุดที่เขียนว่า 「乗車券 普通回数券 かいまちがい払いもどし」
1. 画面には右下 の「乗車券 普通回数券 かいまちがい払いもどし」を選びます。

2. หน้าจอจะขึ้นให้กดว่าจากสถานีไหน ไปสถานีไหน
2. 利用区間 どこからどこまで駅の名前を押します。

3. จากนั้นจะให้เลือกวันที่ใช้
3. 乗る日付を選びます。

4. แล้วก็จะขึ้นว่าจะซื้อแบบเที่ยวเดียว หรือว่าไป-กลับ
4. 片道か往復か選びます。

5. จากนั้นก็จะเป็นการจ่ายเงิน เราก็เสียบบัตรเครดิตของเราเข้าไป
5. 支払の時にカードを入れます。

6. กดรหัสกดเงินของบัตร 4 หลัก ไม่แน่ใจว่าถ้าต้องการใบเสร็จ ก็กดปุ่มใบเสร็จหลังจากใส่รหัสเสร็จแล้ว หรือว่าขั้นตอนที่ 5 ไม่แน่ใจนะ
6. 4桁の暗証番号を入力します。領収書がいる場合は暗証番号の後か上記の5番に領収書を押すか自信がありません。

7. จากนั้นตั๋วก็จะออกมา ตั๋วก็ใหญ่  ๆ แบบนี้ (ปกติจะเล็ก ๆ )
7. 切符が出てきました。サイズは普通より大きいです。

พอดีเราไม่ได้เก็บพวกตั๋วมา ก็เลยหาจาก Google มาให้ดูนะคะ

ตั๋วก็จะหน้าตาแบบนี้

切符は保管していないのでGoogleで検索して載せられていただきます。
切符はこれです。



เราก็เลยลองใช้บัตรเครดิตของไทยดู ก็ซื้อได้หล่ะ
ซื้อเที่ยวเดียว 130 เยน มาเช็คดูเป็นเงินบาทเท่าไหร่ บัตรเรียกเก็บ 42.12 บาท เรทน่าจะอยู่ที่ 32.40 บาท / 100 เยน (ณ วันที่ 23 ก.ย. 56)
เหมือนจะถูกชาร์จเพิ่มจากเรทปกติประมาณ 0.8 ได้นะ

วิธีการซื้ออาจจะใช้เวลาสักหน่อย แต่เราว่าถ้าไม่ได้ซื้อด้วยจำนวนเงินที่เยอะ และถ้าไม่มีบัตรเครดิตของญี่ปุ่น ไม่ขอแนะนำดีกว่า เพราะมีเรื่องเรทที่แพงกว่าปกติ ทำให้เราเสียค่าบัตรเพิ่มขึ้นอ่ะ


その後、私もタイのクレジットカードで買ってみました。
片道で130円の切符が買えました。タイバーツでいくらぐらい請求されているかチェックしたら42.12バーツになっています。レートは32.40バーツ/100円だと思います。(2013年9月23日時点)
0.8ぐらい普通のレートよりチャージされるみたいです。

購入方法は面倒なことになります。大金で購入しない、日本のクレジットカードがない場合はより高いレートにも関係があっておすすめにならないです。

  
ส่วนใบเสร็จก็หน้าตาแบบนี้ค่ะ (รูปจาก Google)
領収書はこれです。
(Googleからの写真)


รูปนี้เป็นสลิปของการใช้บัตรเครดิต (รูปจาก Google)
下の写真はクレジットカードの利用票です。
(Googleからの写真)




เครื่องนี้นอกจากสามารถซื้อตั๋วรถไฟธรรมดาได้แล้ว เดิมทีเป็นเครื่องที่ซื้อตั๋วชินคันเซน ตั๋วเดือน ตั๋วแบบประหยัด ฯ 
ไว้ถ้าเราได้ซื้อตั๋วแบบอื่นด้วยบัตรเครดิต เดี๋ยวจะเอามาอัพให้อ่านอีกครั้งนะคะ

この機械は普通の切符が買える他にそもそも新幹線、定期券、おトクな切符などを買う機械です。
普通の切符以外、他の切符をクレジットカードで買ったら投稿しますね。




วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การรับมือกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น "พายุ" โดยไม่ทันตั้งตัว (いざという時の防災対策)_台風

เรื่องแรกที่จะขอพูดถึงก็คือการรับมือกับ "พายุ"

まずは「台風」の話を。

สิ่งที่ต้องทำเป็นพื้นฐานเลย
1. เช็คข้อมูลของพายุล่าสุด
2. ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรที่จะออกไปข้างนอก
3. ไม่ควรเดินเข้าไปใกล้กับแม่น้ำ ธารน้ำ ทะเล

基本行動
1. 最新の台風情報をチェック。
2. 外出はできるだけ控える。(ひかえる)
3. 川や用水路(ようすいろ)、海に近づかない。

ก่อนหน้าที่พายุจะมา
1. ให้ขนพวกกระถางต้นไม้ที่อยู่ตามระเบียงเข้ามาในบ้าน และสิ่งของที่อยู่บริเวณรอบ ๆ บ้านให้ย้ายมารวม ๆ อยู่จุดเดียวกัน
2. สำรวจบริเวณรอบ ๆ บ้าน เสริมความแข็งแรงให้กับหน้าต่าง บานประตูกันฝน
3. บ้านที่มีห้องใต้ดินหรือที่จอดรถชั้นใต้ดิน  หรือบ้านที่เป็นที่ต่ำ หรือมีพื้นที่ยุบตัวต่ำกว่าบริเวณบ้านให้วางกระสอบทราบซ้อน ๆ กัน
4. รองน้ำในอ่างอาบน้ำให้เต็ม ประมาณว่าให้มีน้ำใช้สำหรับชีวิตประจำวัน

台風が接近(せっきん)する前に
1. ベランダの植木鉢(うえきばち)などを家の中に移し、家の周囲に置いているものは一カ所に集めて固定する。
2. 家の周りを点検し、窓や雨戸(あまど)を補強(ほきょう)する。
3. 地下室や地下駐車場がある家、低地(ていち)やくぼ地にある家は土嚢(どのう)を積む。
4. 浴槽(よくそう)に水を張るなど、生活用水を確保する。


ตอนที่พายุมา แล้วอยู่ข้างนอก
1. เนื่องจากจะมีอันตรายที่จะตามมากับลมพายุ ลมกรรโชกแรง ดังนั้นให้หยุดงานที่ทำอยู่กลางแจ้ง
2. ให้ห่างจากการอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ำ หรือธารน้ำ
3. ในขณะที่ขับรถอยู่ถ้าระดับน้ำอยู่สูงระดับล้อแล้ว ให้รีบห่างจากรถทันที
4. ถ้ามีฟ้าร้อง สายฟ้า อย่ากางร่ม และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ในระยะ 4 เมตร
5. ถนนที่มีน้ำท่วมขังแล้ว ให้หาแท่งยาว ๆ ทำเป็นไม้เท้า ในระหว่างที่เดิน ๆ ให้เช็คดูว่าข้างใต้น้ำนั้นฝาท่อปิด หรือบริเวณข้าง ๆ ไม่มีร่องหรือหลุม


 台風の時、外にいたら
1. 暴風(ぼうふう)や突風(とっぷう)にあおられる危険があるので、野外(やがい)での作業は止める。
2. 川や用水路のそばから離れる。
3. 運転中、水位(すいい)がタイヤの高さになったら車からすぐに離れる。
4. 雷がなったら傘をささない。また樹木(じゅもく)の4m以内に近づかないようにする。
5. 浸水(しんすい)した道では、長い棒(ぼう)を杖(つえ)にして、水面下にマンホールや側満がないか、確認しながら歩く。




ที่มา くらし方禄 September 2013
รูปจาก Google




วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทิ้งขยะของญี่ปุ่น (ごみの出し方について)

วันนี้วันจันทร์แถวบ้านเราจะกำหนดให้เป็นวันทิ้งขยะที่เผาได้
ปกติตอนคุณซูออกไปทำงานก็จะให้คุณซูเอาขยะไปวางไว้ที่ทิ้งขยะ
แล้วถ้าวันที่ทิ้งขยะตรงกับวันที่คุณซูหยุด เราก็จะเอาไปวางไว้คืนก่อนวันนั้น
แต่วันนี้นึกว่าเป็นวันอาทิตย์เพราะคุณซูหยุด บวกกับตื่นสายกันทั้งคู่ (เขาให้วางขยะก่อน 8 โมง) ก็เลยไม่ได้ทิ้ง
เราก็ถามคุณซูว่าเอาไปวางไว้จนถึงวันพฤหัสฯ ที่เขาจะมาเก็บอีกรอบไม่ได้เหรอ
คุณซูก็ตอบว่า "ไม่ได้ มันไม่ดี  ให้รอทิ้งวันพฤหัสฯ"

今日月曜日は住んでいる市で燃やすごみを収集することになっています。
普段は主人が出勤する時に出すことをお願いしています。
しかし、収集当日は主人の休みに一致したら収集้日の前夜に出します。
この日は主人の休みで日曜日だと思って、後今日は二人とも寝坊してしまって出すのが間に合いませんでした。(収集当日日の朝8時までにだとルールとなっています。)
私は「次の収集は木曜日の予定で、今出したら大丈夫ですか?」主人に聞きました。
主人の返事は「だめですよ。よくないから、木曜日まで待ちましょう」。


ในแต่ละปีทางเขตจะส่งปฏิทินการทิ้งขยะมาให้ ซึ่งในนั้นก็จะมีวิธีการแยกขยะ การทิ้งขยะ และอื่น ๆ มาให้ ที่อื่นก็คงจะส่งมาให้เหมือนกัน
รูปนี้จะเป็นของเดือนสค. ถึง พ.ย. 2013

毎年住んでいる市からごみ収集カレンダーを配ってもらっています。そのカレンダーの中にごみの分け方や出し方など書いてあります。
他の市も配られるでしょう。
下の写真は8月ー11月のごみ収集カレンダーです。



ส่วนวันพรุ่งนี้ (วันอังคาร)  ก็จะเป็นวันที่ทิ้งขยะประเภทขวด, กระดาษ, ผ้า เสื้อผ้า
คืนวันนี้ก็เลยต้องจัดการกับขยะที่เราจะทิ้งให้เรียบร้อย
อย่างกล่องกระดาษก็จะต้องทำให้แบน ๆ
กล่องนมก็ให้ล้างด้วยน้ำก่อน แล้วก็ทำให้แบน ๆ
จริงๆ มีเขียนวิธีอีกเยอะเลยว่าต้องทำยังไง
แต่เราคงทำตามไม่หมด ปกติเลยทิ้งแบบนี้ ส่วนถุงพลาสติกนั้นใส่ขวดสำหรับทิ้ง
แล้ววันพรุ่งนี้จะให้คุณซูเอาไปทิ้งตอนออกไปทำงาน

明日(火曜日)はビン、紙、衣類の収集の日です。
今晩はごみを処理します。
ダンボールは平らにします。
牛乳パックは水で洗って平らにします。
本当は分け方と出し方はもっともっとありますよ。でも私はいつもこんな感じを出しています。
横に置いているのはビンのごみです。
明日、主人が出勤する時に出すのをお願いします。



รูปข้างล่างจะเป็นเกี่ยวกับที่เขาเขียนวิธีการแยกขยะ ว่าอะไรถือเป็นขยะประเภทไหน
รูปนี้จะเป็นประเภทของขยะที่เผาได้, ขยะที่เผาไม่ได้, ขยะอันตราย, กระป๋อง, ขวด
下の写真はごみの分け方です。どんな物はどんなごみに分けているか説明されます。
この写真は燃やすごみ、燃えないごみ、有害ごみ、かん、びんのごみです。




รูปข้างล่างนี้จะเป็นประเภทของขยะที่เป็นกระดาษ, ผ้า เสื้อ, ขวดน้ำพลาสติก
下の写真は紙、衣類、ペットボトルのごみです。


แล้วก็มีรายการของ ว่าของนี้ถือเป็นขยะประเภทไหนด้วย
下の写真はごみ分別一覧表です。



แล้วก็มีกฏพื้นฐานสำหรับการทิ้งขยะของแถวบ้านเราด้วย
1. ให้ทิ้งขยะในวันที่กำหนดก่อน 8 โมง และให้ทิ้งในที่ที่กำหนด
2. ให้ใช้ถุงขยะใส หรือถุงที่พอมองเห็นได้
3. ให้รักษาความสะอาดของที่ที่ขยะด้วย

そして、ごみを出すときの基本ルールも説明されています。
1.ごみは収集日当日の朝8時までに決められたごみ集積所に出してください。
2.ごみ袋は透明、半透明のものをご利用ください。
3.ごみ集積所は、清潔にご利用ください。

เราก็เคยเขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อเดือน กพ. (ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้) ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ
私は2月にこの件について投稿したことがあります。(下のリンク)読んでみてくださいね。


นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่บ้านเมืองของญี่ปุ่นสะอาดดูสวยงาม แต่เราก็เห็นบางที่ที่ไม่รักษาความสะอาด ดูแล้วน่าเสียดายเหมือนกัน

こういうわけで日本の町が清潔できれいです。でも清潔に利用しないところも見かけましたよ。それは残念なところだなあと思います。





วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รถไฟ JR ตะวันออกได้นำระบบที่ผู้โดยสารต้องเปิดปิดประตูด้วยตนเองมาใช้กับบางสถานี บางขบวนแล้ว

พอดีอ่านข่าวเจอเกี่ยวกับการเปิด-ปิดประตูรถไฟด้วยตนเอง (จากเดิมจะเป็นประตูอัตโนมัติ) ของสาย JRตะวันออก  

เนื้อหาข่าวก็คือ
ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 56 ทางสาย JR ตะวันออกได้นำระบบที่ผู้โดยสารต้องเปิดปิดประตูด้วยตนเองมาใช้
การนำระบบนี้มาใช้จะใช้กับสถานีต้นทางของ 5 สถานี ได้แก่ สถานี Tokyo,  สถานี Shinagawa, สถานี  Atami กับสถานี Odawara, สถานี Itou สายShizuoka-Itou
ทางสาย JR ตะวันออกได้บอกมาว่า  เนื่องจากขบวนรถที่จะออกจากสถานีต้นทาง ก่อนจะออกขบวนรถจะเปิดประตูทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จึงทำให้ประสิทธิภาพของการทำความเย็นของแอร์แย่ลง
ผู้โดยสารได้มีการพูดมาว่า "ตอนที่รอขบวนออก ถ้าประตูจะเป็นการดีกว่า เย็นดี" "การปิดประตูน่าจะเป็นการประหยัดพลังงานนะ" 
ทาง JR ตะวันออกก็จะดูปฏิกิริยาของผู้โดยสาร และจะพิจารณาว่าควรจะขยายสถานีให้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่

JR東海道線では、19日から、乗客自らがドアを開閉するシステムを導入した。
このシステムを導入したのは、東海道線で始発駅となっている、東京駅、品川駅、熱海駅と小田原駅、静岡・伊東線の伊東駅の5つの駅。
JR東日本によると、東海道線の電車は、始発駅を出発するまで、10分程度ドアが開いたままの状態のため、冷房の利きが悪くなっていたという。
利用客は、「閉めていた方が待っているときは涼しいので、いいと思います」、「電気の節約になるんじゃないですか」と話した。
JR東日本は、今後、乗客の反応を見て、これ以外の駅にも拡大させるか検討したいとしている。


อ้างอิงแหล่งข่าวจาก FNN


ถ้าใครได้มีโอกาสมาญี่ปุ่น แล้วได้ใช้บริการของขบวนที่เขาใช้ระบบแล้ว
บางครั้งเราอาจจะลืมนึกว่าเป็นระบบประตูออโต้ "เอ๊ะ ทำไมประตูไม่เปิด เสียหรือไง" ไม่ใช่นะคะ เขาเปลี่ยนมาใช้ระบบเปิดปิดด้วยตัวเองแล้วนั่นเอง ^0^


แล้วก็พอดีเรามีบัตร Suica Card ที่ได้จากคุณซูมา ช่วงแรก ๆ ที่ต้องเติมเงินเอง จะงง ๆ เติมไม่เป็น แต่ตอนนี้เริ่มโอเคหล่ะ เลยขออัพวิธีการเติมเงินมาให้ดูนะคะ
เครื่องแต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน แต่วิธีการจะคล้าย ๆ กันค่ะ

 ตัวอย่างบัตรค่ะ



คำศัพท์ที่ใช้นะคะ

カード =การ์ด
チャージ = การเติมเงิน
紙幣  = ธนบัตร
領収書 = ใบเสร็จ (สำหรับคนที่ต้องการ)

วิธีเติมเงิน

1. ใส่บัตรในช่องที่เขียนว่า "カード"
2. จากนั้นเลือกที่เขียนด้วยกระดาษว่า チャージ=> จะตรงกับหน้าจอที่่เป็นปุ่ม Passmo (สามารถใช้กับ Suica Card ได้คะ)
3. หน้าจอเขาขึ้นยืนยัน チャージมาให้อีกครั้ง ก็สัมผัสหน้าจอ
4. หน้าจอจะขึ้นจำนวนเงินที่ต้องการเติม (ในที่นี่เราเติม 1000 เยน)
5. หน้าจอจะมี 領収書 ให้สัมผัส ถ้าใครต้องการใบเสร็จด้วยก็สัมผัส ถ้าไม่ต้องการก็ไม่ต้องไปสัมผัสอะไร
6. ใส่ธนบัตรที่ช่องที่เขียนว่า "紙幣" แต่ถ้ามีเหรียญด้วย ก็ให้หยอดที่ช่องเหรียญที่อยู่ข้าง ๆ
7. บัตร กับเงินทอนก็จะออกมา
8. ใบเสร็จก็จะออกมา






วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

10 - 18 ส.ค. 56 หยุด Obon (โอะบ้ง) - 13 ส.ค. 56 Ohaka mairi

ในปีนี้วันที่ 10 - 18 ส.ค. ที่ญี่ปุ่นจะหยุดเนื่องจากเป็นช่วงโอะบ้ง บางบริษัทจะเริ่มหยุดตั้งแต่ 13-18 ก็มี
ในช่วงนี้ ชาวญี่ปุ่นจะมีความเชื่อว่า บรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะได้กลับมาเยี่ยมบ้าน ก็เลยคล้าย ๆ กับไปเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษเข้าบ้าน ประมาณนั้นนะ

เพราะฉะนั้นคนที่มาทำงานในเมืองก็จะกลับไปที่บ้านเกิดของตัวเอง รถจะติด ผู้คนจะออกเดินทางกันเยอะมาก มีออกไปเที่ยวต่างประเทศก็เยอะ ถ้าในช่วงนี้เราจะเห็นคนญี่ปุ่นเยอะเป็นพิเศษที่ไทย ก็คงไม่แปลกอะไร

และ ในวันนี้ 13 ส.ค. ที่บ้านของคุณซูก็ไปที่สุสานของตระกูล "Ohaka mairi" เพื่อเชิญบรรพบุรุษของตัวเองกลับมาบ้านเหมือนกัน ซึ่งเราเคยเขียนเรื่อง Ohaka mairi ไว้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=naruchan&month=06-2013&date=15&group=20&gblog=4

แต่ครั้งนี้ที่เราเห็นว่ามีของที่ทางบ้านคุณซูเตรียมเพิ่มเติมก็จะมี
1. โคมไฟ (แต่ในรูปจะเป็นที่ค้นมาจากทางเน็ทอีกที ตัวคันจิก็เลยไม่ใช่ของตระกูลเรา)
แต่ตอนที่ถือไปสุสานจะเป็นโคมที่ถูกเปิดไว้  แล้วข้างในโคมจะมีเทียนปักอยู่แท่งหนึ่ง




2. กาน้ำ




ขอบคุณรูปจาก Google ค่ะ


ส่วนขั้นตอนก็มีเพิ่มจากที่เขียนไว้ในลิ้งค์ข้างบนก็คือ
ออกจากบ้านกัน 6 โมงเช้า พอเข้าไปที่วัด คุณพ่อคุณซูก็จะเอาโคมไปให้พระท่านทำพิธี แล้วก็มาไหว้ที่สุสานของตระกูลตัวเอง (วิธีไหว้ตามลิ้งค์ด้านบนนะคะ)
แต่ครั้งนี้เติมน้ำด้วยกาน้ำของตัวเองที่ถือมาคะ
จากนั้นคุณแม่ของคุณซูก็ไปไหว้+ปักดอกไม้อีกที่นึง (ไม่รู้ว่าคืออะไร) แล้วก็ไปไหว้+ปักดอกไม้อีกที่นึงซึ่งที่สุดท้ายที่ไหว้นี้ก็จะเป็นพระพุทธ

แล้วก็ขึ้นไปที่วัด หยอดเหรียญลงในที่ตู้หยอด แล้วคุณพ่อคุณซูก็ไปเอาโคมมา ครั้งนี้เทียนในโคมจะถูกจุดแล้ว ก็เลยปิดโคมเหมือนตามรูปด้านบนเลย

จากนั้นก็ถือโคมนี้มาที่บ้าน แล้วก็เอาเทียนที่อยู่ในโคมออกมาปักไว้ที่โต๊ะที่ได้วางเตรียมไว้หน้าแท่นหิ้งบรรพบุรุษ  ที่โต๊ะก็จะมีชามผักที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ , ชามน้ำ, แล้วก็ช่อดอกไม้เล็ก ๆ วางไว้อยู่ด้วย (แต่ละบ้านคงไม่เหมือนกัน)

เราก็ทำตามคุณซู คือ
1. จุดธูป 3 ดอก
2. ปักธูป
3. เคาะชามโลหะ ดังกิ้ง กิ้ง
4. เอาช่อดอกไม้เล็ก ๆ จุ่มชามน้ำ แล้วก็พรมชามผัก  เป็นอันเสร็จพิธี

ก็เลยถามคุณซูว่าวันนี้รับวิญญาณบรรพบุรุษมา ก็ต้องมีการส่งด้วยใช่ไหม คุณซูบอกว่าส่งวันที่ 15 นี้ ซึ่งการส่งจะเรียกว่า Okuribi  จะต้องทำอะไรยังไง เดี๋ยวจะมาอัพข้อมูลให้ทราบนะคะ


วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีคลายร้อนแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องพึ่งแอร์

เมื่อวานคุณซูซื้อเค้กมาฝาก แล้วในกล่องเค้กทางร้านจะใส่ซองหยุ่น ๆ กันความเย็นมาให้ เราก็เลยเกิดไอเดียว่า ถ้าใช้เจ้าซองหยุ่น ๆ นี้มาโป๊ะ ๆ ตามคอดูหล่ะ ได้ผลจริงๆ ด้วย เย็นดี

ก่อนหน้านี้ตอนช่วงฤดูหนาว คุณซูก็ซื้อเค้กมา แล้วก็บอกว่าให้เก็บซองหยุ่น ๆ กันความเย็นนี้ใส่ตู้เย็นด้วย เราก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรต่อ ดีนะที่เก็บตามที่คุณซูบอก เพราะตอนนี้มีประโยชน์มาก ๆ เลย

เรียกซองหยุ่น ๆ นี้ว่า 「保冷剤」(Ho rei zai)

 
วิธีใช้ก็คือ แช่ก้อนนี้ในตู้เย็น พอเราจะใช้ก็ใช้ผ้าเช็ดหน้าพันอีกที แปะตามคอ หรือที่รักแร้ เราก็จะรู้สึกถึงความเย็น สบายขึ้นมา  พอหมดความเย็นก็เอาไปแช่ตู้เย็นใหม่ แล้วค่อยเอากลับมาใช้อีกที
 
นอกจากใช้เจ้าก้อนนี้แล้ว ก็ยังมีวิธีอื่นอีก (ที่อ่านเจอในเว็บของญี่ปุ่น)  ก็จะมี
- คนญี่ปุ่นชอบแช่น้ำอุ่น คุณซูก็เหมือนกัน ส่วนเราอยากแช่นะ แต่ร้อนอ่ะ ไม่ไหว ทุกวันนี้คงมีเราคนเดียวมั้งในแถวนี้ ที่ไม่ใช้ก๊าซตอนอาบน้ำ เราอาบน้ำเย็นเลย ส่วนคุณซูก็เปิดก๊าซอาบน้ำอุ่น แล้วก็แช่น้ำอุ่น
ซึ่งแน่นอน พอแช่เสร็จเหงื่อคงไหลไม่หยุดแน่ เขาก็มีวิธีคลายร้อน ก็คือพอแช่น้ำอุ่นเสร็จ ก็ให้เอาเท้าเราแช่กับน้ำเย็น ก็จะทำให้ปริมาณเหงื่อในร่างกายลดน้อยลง
 
- ให้ทานของที่ช่วยลดความร้อน
อย่างเช่นแตงโม แตงกวา หรือฟักเขียว เพราะพวกตระกูลแตงจะมีสรรพคุณช่วยลดความร้อน
 
- ถ้าวันไหนไม่มีลม ก็ให้เอาพัดลมเปิดจ่อไปทางด้านหน้าต่าง แล้วก็เปิดหน้าต่าง ทีนี้ลมก็จะเข้ามา
 
- ให้เอาน้ำราดพื้นในตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยทำให้อุณหภูมิลดลงได้นิดหน่อย ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีแต่ดั้งเดิมของคนญี่ปุ่น อาจจะเอาน้ำจากที่แช่น้ำอุ่นเมื่อคืนมาใช้เพื่อเป็นการประหยัดน้ำก็ได้ค่ะ
 
 
อาจจะต้องลองทำดู จะได้คลายร้อนได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะตอนนี้ไม่ไหวร้อนมาก ๆ
 
 

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผิวสวยสดใสแต่ละวัยต้องหมั่นดูแล

ทำไมผิวต้องเสื่อม

ผิวเสื่อมเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือสิ่งแวดล้อม เช่นแสงแดด มลพิษและเสื่อมตามวัย หรือผลจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ผิวที่เหี่ยวย่นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการลดลงของปริมาณคอลลาเจน  กล่าวคือ  เมื่ออายุ 30 ปี  การสร้างคอลลาเจนในผิวจะลดลงปีละ 1% พออายุ 45-50 ปี ร่่างกายก็จะหยุดการสร้างคอลลาเจน จึงสังเกตว่าผู้ที่วัยล่วงเลยเข้าเลข 3 ผิวที่เคยเต่งตึงก็จะเริ่มปรากฏริ้วรอยให้เห็น

 
ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยทำงานหรือวัยไหน ๆ การดูแลผิวพรรณถือว่าสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นผู้หญิงสมัยนี้่ห่วงแหนผิวพรรณและพยายามสรรหาเคล็ดลับต่าง ๆ เพื่อปกป้องริ้วรอยที่จะเกิดขึ้นก่อนวัย
 
 
มาทำความเข้าใจผิวแต่ละวัยกันนะคะ

20 วัยสาวสดใส

     วัยรุ่นเป็นวัยที่ผิวพรรณจะสดใสเปล่งปลั่งมากที่สุด แต่อาจมีปัญหาผิวหน้ามันหรือสิว เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงก่อนหรือหลังการมีประจำเดือน จึงควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดผิวให้หมดจด โดยเฉพาะคนที่แต่งหน้า ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง ที่สำคัญต้องไม่บีบหรือแกะสิว เพราะอาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อและเกิดแผลเป็น นอกจากนี้ควรลดอาหารหวานจัด มันจัด อาหารหมักดอง เป็นต้น

 


ดูดีได้ในวัย 30

     เมื่อย่างเข้าเลข 3 ผิวหนังจะเริ่มขาดความชุ่มชื้น ไม่เปล่งปลั่งสดใสเหมือนเดิม รูขุมขนกว้างขึ้น สีผิวเริ่มไม่สม่ำเสมอ ผิวจึงต้องการดูแลมากขึ้น เพราะการผลัดเซลล์ตามธรรมชาติไม่รวดเร็วเหมือนเมื่อวัย 20 ต้น ๆ เมื่อไม่มีการผลัดเซลล์ใหม่ เซลล์ที่เสื่อมสภาพจะห่อหุ้มผิวเราไว้ ผิวหน้าก็จะดูหมอง ๆ ไม่สดใส ไม่เรียบเนียน และจะเริ่มมีปัญหาเรื่องริ้วรอย จุดด่างดำ และรอยกระที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานในห้องแอร์ หรือนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ขอแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ซึ่งเป็นการทำร้ายผิวให้ดูแก่ก่อนวัย รวมถึงการทำใจไม่ให้เครียดหรือหน้านิ่วคิ้วขมวด เพราะจะทำให้เกิดริ้วรอยได้ง่าย

 


เลิศหรูสไตล์วัย 40

     เมื่อเข้าสู่วัย 40 ต่อมสร้างน้ำมันใต้ผิวหนังจะลดการทำงานลง จึงทำให้เกิดริ้วรอยรอบปากและดวงตา เนื่องจากไขมันหล่อเลี้ยงใต้ชั้นผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นลง ผิวจึงไม่อิ่มเอิบ และเกิดริ้วรอยหรือจุดบกพร่องชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้หญิงช่วงอายุนี้เริ่มเข้าสู่วัยทอง ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลทำให้ผิวบาง แห้งและแพ้ง่ายมากยิ่งขึ้น ผิวจึงต้องการการปกป้องจากแสงแดดและมลภาวะมากขึ้น หากถ้าคุณทาครีมกันแดดปกป้องผิวทุกวันตั้งแต่เพิ่งเข้าวัยรุ่นสภาพผิวจะยังคงนุ่มนวลไม่หยาบกร้านและดูอ่อนเยาว์กว่าผู้ที่ไม่เคยปกป้องผิวด้วยวิธีใด ๆ

 

วัย 50+ สวยสมวัย

     ส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยทองซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หมดประจำเดือนแล้ว ร่างกายจะสร้างคอลลาเจนและองค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นโครงสร้างผิวได้น้อยลง ผิวจึงหย่อนคล้อย แห้งกร้าน หมองคล้ำ ริ้วรอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือริ้วรอยตื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วก็จะยิ่งลึกและมองเห็นชัดยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ตากแดดบ่อย ๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็ว และเกิดฝ้า กระ มากขึ้นด้วย ในบางรายที่ชอบแช่น้ำอุ่น จะยิ่งทำให้ผิวยิ่งแห้งมากขึ้น และอาจเกิดอาการคันตามมา

"จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า การรรับประทานคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ชุ่มชื้นและเรียบเนียนขึ้น อีกทั้งยังช่วยทำให้ริ้วรอยและความหยาบกระด้างของผิวลดลง"

สวยสดใสด้วยการใช้ชีวิตสมดุล

     แม้วัยจะเป็นตัวกำหนดสภาพผิวพรรณโดยธรรมชาติ แต่ถ้ารู้จักดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเรื่อง "อาหาร" เพราะผิวก็ต้องการอาหารในการบำรุง ซ่อมแซมและฟื้นฟู เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่นกัน และอาหารที่ดีต่อผิวก็คือ ผักผลไม้ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ ซี และอี ที่จะช่วยปกป้องผิวจากการทำลายของอนุมูลอิสระ และชะลอการเสื่อมของผิว และจากผลการศึกษาวิจัยพบว่า การรับประทานคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ดีขึ้น ชุ่มชื้นและเรียบเนียนขึ้น อีกทั้งยังช่วยทำให้ริ้วรอยและความหยาบกระด้างของผิวลดลง ขณะเดียวกันควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ไม่เครียด ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จากภายนอกที่คอยทำลายผิว ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ฝุ่นละออง บุหรี่และควันพิษจากท่อไอเสีย รวมถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณรังสียูวีสูงที่สุด แต่หากจำเป็นก็ควรกางร่ม หรือสวมหมวกปีกกว้าง ใส่เสื้อแขนยาว และอย่าลืมทาครีมกันแดดเป็นประจำ

     เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีผิวพรรณที่อ่อนเยาว์ สวยสดใส และมีสุขภาพดีไม่แพ้ใครค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร BRAND'S
และรูปภาพต่าง ๆ จาก Google นะคะ